ตัวอย่างบริการรับรองมาตรฐาน
- ISO9001:ระบบบริหารคุณภาพ
- ระบบบริหารมีนิยามว่าระบบที่ทำให้เป้าหมายและนโยบายที่องค์กรกำหนดสำเร็จลุล่วงได้ เป็นระบบพื้นฐานทั่วไปที่สามารถประยุกต์เข้ากับทุกองค์กรได้โดยไม่จำกัดประเภทงาน ลักษณะการปฏิบัติงาน และขนาดของกิจการ โดยขณะนี้ธุรกิจบริการและหน่วยงานปกครองต่าง ๆ ทยอยขึ้นทะเบียนรับรองอยู่ หากเป็นบริษัทที่ BOI (Board of Investment) รับรองจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนภายใน 2 ปี
- ISO14001:ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม
- มาตรฐานที่มีประโยชน์ต่อการยกระดับการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามหัวข้อ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” อันเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับโลกซึ่งเป็นประเด็นที่มักถูกเรียกร้องจาก Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) มากเป็นพิเศษ ต่างไปจากระบบก่อนหน้านี้ที่ระบบปัจจุบันให้ความสำคัญกับการดำเนินการ อันมีพื้นฐานมาจากการลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมและการมีหน้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึง Life Cycle (วงจรชีวิต) ของผลิตภัณฑ์
- IATF16949:ระบบจัดการคุณภาพ
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ - ระบบจัดการคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผู้ผลิตยานยนต์ทั่วโลกร่วมมือกันพัฒนาและสร้างขึ้นโดย IATF (International Automotive Task Force) เป็นมาตรฐานที่องค์กรผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ถูกเรียกร้องให้ขึ้นทะเบียนผ่านห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) องค์กรในวงการยานยนต์โดยเฉพาะในประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องรับรองและขึ้นทะเบียนตามมาตรฐานนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ พื้นฐานของมาตรฐานนี้มาจาก ISO 9001
- ISO45001:ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- มาตรฐานสำหรับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรนอกเหนือไปจากเรื่องคุณภาพของ ISO 9001 และเรื่องสิ่งแวดล้อมของ ISO 14001 โดยรวมตั้งแต่การตรวจหาสาเหตุของความอันตรายในการปฏิบัติงานจนถึงการลดความเสี่ยงจากภัยภิบัติ ทั้งยังเป็นมาตรฐานที่เน้นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าการรับมือกับอุบัติเหตุ โดยควบคุมความเสี่ยงในฐานะระบบบริหารที่บริหารโดยตัวองค์กร
- ISO10002:ระบบจัดการข้อร้องเรียน
- ระบบการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าด้วยระบบ ข้อร้องเรียนของลูกค้าจะช่วยยกระดับคุณภาพและบริการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท เมื่อไม่กี่ปีก่อนมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น และในปัจจุบันมีกรณีที่สำนักงานดังกล่าวฟ้องบริษัทมากขึ้นเรื่อย ๆ แทนตัวผู้บริโภคที่มีสถานะอ่อนแอกว่า อีกทั้งในปัจจุบันการพัฒนาของโซเชียลมีเดียยังทำให้เกิดการกระจายข้อมูลที่ไม่ดีได้ในชั่วพริบตา จึงควรต้องใช้งานระบบนี้เพื่อเตรียมพร้อมไว้
- R2:(Responsible Recycling:การรับรองการรีไซเคิล)
- มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงาน และความปลอดภัยสำหรับธุรกิจรีไซเคิลอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ชื่อว่า “Responsible Recycling (R2)” เป็นสัญลักษณ์พิสูจน์ความเชื่อมั่นแบบใหม่ในวงการรีไซเคิลที่บริษัทชั้นนำของโลกนำมาใช้
- AS9100:มาตรฐานการจัดการคุณภาพ
ด้านการบินและอวกาศ - มาตรฐานเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบินและอวกาศ มาตรฐานนี้รวมเอาทุกปัจจัยของ ISO9001 กับข้อเรียกร้องเฉพาะตัวของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบินและอวกาศเข้าด้วยกัน เป็นมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับองค์กรที่ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินอย่างเครื่องยนต์ของเครื่องบินให้กับบริษัทโบอิ้ง (The Boeing Company) หรือบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric Company) และอีกไม่นานคงได้เห็นอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินในประเทศไทยมีการพัฒนาขึ้นมาเช่นกัน
- FSSC22000:ระบบความปลอดภัยด้านอาหาร
- มาตรฐานความปลอดภัยอาหารสากลที่ GFSI (Global Food Safety Initiative) ยอมรับ โดยมีพื้นฐานจาก ISO 22000 และ ISO/TS 22002-1 หรือ ISO/TS 22002-4 ผู้ผลิตอาหารที่ตั้งเป้าเป็นผู้ควบคุมการส่งมอบแบบครบวงจรต้องมีมาตรฐานนี้ สำหรับองค์กรที่เคยขึ้นทะเบียน ISO 22000 แล้ว เมื่อปฏิบัติตามโปรแกรมเงื่อนไขล่วงหน้าและข้อเรียกร้องเพิ่มเติมแล้ว จะสามารถรับการรับรอง FSSC 22000 ได้
- ISO13485:ระบบบริหารคุณภาพ
สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ - ระบบบริหารคุณภาพเพื่อการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้นจำเป็นต้องสร้างระบบที่เข้ากันได้กับความต้องการของ FDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) หรือ CGMP (หลักเกณฑ์การผลิตที่ดีและเป็นปัจจุบัน) แม้จะมีพื้นฐานจากข้อเรียกร้องของ ISO 9001 แต่มาตรฐานนี้เน้นความสอดคล้องกันของผลิตภัณฑ์มากกว่าความพึงพอใจของลูกค้า
- GMP HACCP:มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์
- มาตรฐานพื้นฐานที่องค์กรผลิต แปรรูป และบรรจุอาหารจำเป็นต้องทำตามเป็นอย่างแรก ต้องสร้างระบบโดยมีการควบคุมตาม GMP (มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์) และ HACCP (การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม) เป็นศูนย์กลาง และไม่เพียงแต่ผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น แต่เครื่องสำอางที่ใช้บนผิวหรือปากก็ต้องรับรองมาตรฐานตาม GMP โดยใช้มาตรฐาน ISO 22716 ด้วย
- ISO37001:ระบบการจัดการต่อต้านการติดสินบน
-
เพื่อให้สามารถบริหารบริษัทอย่างขาวสะอาดได้ บริษัทจำเป็นต้องสร้างและคงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมในการบริหารที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กรเป็นอย่างแรก ประเทศทั่วโลกต่างกำลังพัฒนาโครงสร้างและปรับปรุงกฎระเบียบนี้อยู่ การออกกฎควบคุมภายในองค์กรเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย
การนำระบบนี้มาใช้ทำให้สามารถทำตามเงื่อนไขของกฎในประเทศต่าง ๆ ได้ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา (FCPA), อังกฤษ (กฎหมายต่อต้านการติดสินบน), ญี่ปุ่น (กฎหมายป้องกันการแข่งขันที่ทุจริต) หรือพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตของไทย อีกทั้งหากกิจการปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO37001 แล้ว แม้พนักงานหรือหุ้นส่วนโดนฟ้องคดีติดสินบน ตัวกิจการเองอาจได้รับการยกเว้นความรับผิดชอบและปกป้องผู้บริหารได้ - ISO37002:ระบบบริหารงานการแจ้งเบาะแส
-
เพื่อให้สามารถบริหารบริษัทอย่างขาวสะอาดได้ บริษัทจำเป็นต้องสร้างและคงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมในการบริหารที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กรเป็นอย่างแรก หนึ่งในนั้นมีระบบบริหารงานการแจ้งเบาะแสที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบริษัทอย่างยั่งยืนและเพิ่มมูลค่าสุทธิของกิจการ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการบริหารกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กร รวมถึงความโปร่งใสของตัวองค์กรเอง
ในประเทศไทยใช้ระบบเพื่อจัดการปัญหาความแตกต่างและกำแพงของภาษา และนำระบบนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้ผู้บริหารสามารถใช้ทรัพยากรในการบริหารที่มีอยู่แต่เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การยกระดับผลลัพธ์ขององค์กรได้ - ISO39001:ระบบบริหารความปลอดภัยการจราจรทางบก
-
มาตรฐานกำหนดข้อเรียกร้องพื้นฐานที่องค์กรพึงต้องแก้ไข โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดจำนวนและทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตหรือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรเป็นศูนย์ นอกจากสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจราจรและการขนส่งแล้ว กลุ่มเป้าหมายของมาตรฐานนี้ยังรวมไปถึงองค์กรทั้งหมดไม่ว่าจะมีประเภทงาน ขนาดกิจการ รวมไปถึงส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือการบริการแบบใด โดยจำเป็นต้องทำเป้าหมายให้สำเร็จด้วย “ดัชนีการดำเนินการ” 3 ชนิดดังนี้
- ดัชนีเปิดเผยความเสี่ยง
(ปริมาณขนส่ง ระยะเดินทางเป็นต้น) - ดัชนีความปลอดภัยขั้นสุดท้าย
(จำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ) - ดัชนีความปลอดภัยขั้นกลาง
(ความปลอดภัยของแปลนและการพัฒนาถนนและยานยนต์ ความปลอดภัยของผู้ใช้งาน การกายภาพบำบัดเหยื่อของอุบัติเหตุ เป็นต้น)
เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว จะทำให้สามารถลดจำนวนอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บลงได้ พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายอย่างค่าประกันภัย ค่าซ่อมแซมยานยนต์ และค่ารักษาพยาบาล สามารถรับมือสถานการณ์หลังเกิดอุบัติเหตุได้อย่างรวดเร็ว เร่งความเร็วในการปฐมพยาบาลหรือการพยาบาลยามฉุกเฉิน ลดต้นทุนและค่าเสียโอกาสที่ใช้ในการจัดการอุบัติเหตุจราจร ยกระดับแบรนด์ของกิจการด้วยการมีปณิธานที่ให้ความสำคัญกับชีวิตมนุษย์และอุทิศตนเพื่อสังคม รวมไปถึงยกระดับความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของพนักงานด้วย
- ดัชนีเปิดเผยความเสี่ยง