KONAKA (THAILAND)「ประเทศไทยเป็นตลาดต่างประเทศที่เต็มไปด้วยความหวัง」Konaka Kensuke

「ประเทศไทยเป็นตลาดต่างประเทศที่เต็มไปด้วยความหวัง」

《プロフィール》
Representative Director
Konaka Kensuke
โคนากะ เคนสุเกะ
■เกิดที่จังหวัดโอซาก้า เมืองโอซาก้า ปีค.ศ.1982 ได้เข้าทำงานที่บริษัท KONAKA ปีค.ศ.1999 ดำรงตำแหน่ง Managing Director ปีค.ศ. 2003 ดำรงตำแหน่ง Senior Managing Director และในปีค.ศ.2005 ดำรงตำแหน่ง Representative Director
■งานอดิเรก:ชมการแข่งขันเครื่องบิน ถ่ายรูป
■ร้านที่ชอบไปในกรุงเทพฯ:Nikuyama กรุงเทพ (Rain Hill)
■รถคันโปรด:โตโยต้า คราวน์


8 ปีแล้วที่บริษัทจำหน่ายเสื้อผ้าสุภาพบุรุษรายใหญ่อย่าง KONAKA ได้เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นที่ตั้งหลักที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ คุณโคนากะ เคนสุเกะ ประธานบริษัท
และตัวแทนจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นซึ่งมาเยี่ยมเยียนประเทศไทยทุกเดือน กล่าวว่า “เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมการใส่สูทระดับท็อปของอาเซียน” เราได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการทำการตลาดเฟสที่ 2 ในประเทศไทยเพื่อต้อนรับการเข้าสู่ปีที่ 9 ของบริษัท

เปิดกิจการที่ไทยมาเป็นเวลา 8 ปี

แผนการแรกเริ่มคือหลังจากที่เปิดกิจการ “SUIT SELECT”(สูท ซีเล็คท์) ได้ 3 ปี เราได้ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายให้ได้ 10 สาขา หลังจากประสบความสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ก็ได้มีการปรับแผนการตลาดให้เหมาะสม

จนปัจจุบันเรามีสาขาทั้งหมด 8 สาขา โดยมีสาขาหลักตั้งอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯอย่างเซ็นทรัลเวิลด์

เราได้นำความรู้ที่สั่งสมมาตลอด 8 ปีมาประยุกต์และต่อยอดสำหรับการวางแผนขยายสาขาต่อไปในอนาคต

อีกทั้ง เรายังมีกิจการที่จีนและสิงคโปร์ควบคู่ไปกับที่ไทย โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ไทยเป็นหลัก

วัฒนธรรมการใส่สูทเป็นอย่างไรบ้าง

เรายึดถือเรื่องการเงินเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ เราจึงเจาะการตลาดที่มีมูลค่าสูงอย่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งรายได้ต่อหัวของประชากรค่อนข้างสูง แต่เมื่อได้ลองทำธุรกิจดูกลับพบว่าวัฒนธรรมการใส่สูทที่สิงคโปร์นั้นไม่ได้เป็นที่นิยมอย่างที่คิด

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลย คือวัฒนธรรมการใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว ที่สิงคโปร์มีเสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้นวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอากาศร้อนนักธุรกิจส่วนใหญ่จึงไม่นิยมสวมแจ็คเก็ตทับอีกชั้น

ในทางกลับกัน ที่ประเทศไทยเสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้นขายไม่ได้เลย จนมักเหลือค้างอยู่ในสต็อกเสมอ นักธุรกิจส่วนใหญ่มักแต่งชุดสูทอย่างดี จึงเห็นได้ชัดว่าข้อสันนิฐานของเราผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง ความเข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายของเรานั้นผิดไปหมด

สำหรับประเทศไทยคนส่วนใหญ่มักใส่ใจกับดีเทลของสูท แหล่งผลิต รวมไปถึงรูปแบบของสูท ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ความสำคัญกับการใส่สูทให้เหมาะกับกาลเทศะอีกด้วย

คนไทยส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการแต่งตัวไปงานสังสรรค์

ใช่เลยครับ ที่ประเทศไทยมักจะมีงานสังสรรค์หรืองานพิธีต่างๆ เป็นประจำ คนที่มาร่วมงานส่วนมากจะแต่งตัวด้วยชุดที่เป็นทางการอย่างชุดทักซิโด้หรือเดรส

พูดง่ายๆ ก็คือคนชนชั้นกลางขึ้นไปส่วนใหญ่จะตระหนักถึงมารยาทในการสวมใส่เสื้อผ้าอย่างชุดสูทสีดำหรือชุดทักซิโด้ให้เหมาะกับกาลเทศะ

ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ทั้งเรื่องวัศดุหรือดีไซน์ของสูทสำหรับทำงานมากขึ้น เรียกได้ว่าตอนนี้สูทกลายเป็น “มากกว่าสูท”ไปแล้ว

เมื่อเทียบกับที่ญี่ปุ่น ถ้าพูดถึงชุดทักซิโด้แล้ว ในระยะเวลา 1 เดือนจะขายได้เพียงแค่ 1 ชุดเท่านั้น แต่ที่ไทยโดยเฉลี่ยใน 1 วันจะขายได้เกือบ ๆ 1 ชุด

ซึ่งในจำนวนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นคนที่หลงรักในสเน่ห์ของชุดทักซิโด้ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ถึงแม้จะคำนวนผิดพลาดไปบ้างแต่ผลลัพท์กลับเป็นที่น่าพอใจ

เพราะเหตุนี้เอง การทำการตลาดที่ประเทศไทยในเฟสที่ 2 หลังจากนี้เราจึงตั้งใจจะเปิดสาขาใหม่ๆเพิ่มขึ้นและเน้นเรื่องดีเทลของสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดครับ

ช่วงแรกที่รุกเข้าตลาดประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน สาขาของเราส่วนมากจะตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าเครือเซ็นทรัล แต่ในอนาคตเรามีความคิดที่จะเปิดเป็นร้านเดี่ยวๆ ที่ตั้งอยู่ติดถนน

ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางการตลาดที่ดีในการต่อยอดความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องสูทและทักซิโด้

จากนี้เราก็มุ่งหวังจะรุกตลาดประเทศใกล้เคียงต่อไปด้วยครับ

เมื่อมีโรงงานอยู่ประเทศเมียนมาร์

ประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์มีประชากรรวมกันประมาณ 130 ล้านคน ในระยะแรกเราได้นำเครื่องจักรเย็บผ้ารุ่นใหม่ล่าสุดเข้าไปใช้ที่โรงงานในประเทศเมียนมาร์ เพื่อทดลองการใช้ เครื่องจักรแทนแรงงาน และจากการใช้เครื่องจักรนี้เองทำให้ยอดการสั่งตัดสูทที่ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้มียอดสั่งตัดรวมทั้งหมดแค่ 5% แต่ปัจจุบันยอดกลับขยายขึ้นจนถึง 25% เลยทีเดียว ทำให้ราคาของสูทที่สั่งตัดนั้นเป็นราคาที่สามารถจับต้องได้มากขึ้น

ในอนาคตเราคาดว่าจะสามารถเปลี่ยนจากการตัดเย็บในประเทศไทยเป็นการสั่งตัดจากไทยและตัดเย็บที่โรงงานในเมียนมาร์แทน

เรามุ่งมั่นที่จะปรับราคาในการตัดสูทให้จับต้องได้มากขึ้นกว่าเดิมเพราะวัฒนธรรมการใส่สูทกำลังแทรกซึมเข้ามาในสังคมเรามากขึ้นเรื่อยๆ

ที่ประเทศไทยมีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่มาก

พักหลังมานี้ บริษัทแม่ต่างๆในญี่ปุ่นส่งพนักงานหนุ่มสาวเข้ามาประจำที่ประเทศไทยเพ่ิมมากขึ้น กลุ่มเป้าหมายของสูทซีเล็คท์ก็คือ กลุ่มคนช่วงวัย 20-40 ปี เรากำลังมุ่งพัฒนาสูทที่ใส่สบายหรือที่เรียกว่า effortless ซึ่งเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นช่วงนี้

ในขณะเดียวกันก็จะมุ่งพัฒนาสูทให้ตรงกับความต้องการของคนไทยที่มักใส่สูทในงานพิธีต่างๆให้มากขึ้นครับ มีโอกาสมาทำงานที่ประเทศไทยทั้งที จะแต่งตัวไปงานพิธีการหรืองานสังสรรค์บ้างก็เป็นความคิดที่ดีไม่น้อยใช่ไหมล่ะครับ

นอกจากจะแวะเวียนไปดูงานที่สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่นแล้วเรายังมาดูงานที่สาขาในประเทศไทยเดือนละครั้งอีกด้วย

Share this article.

PAGE TOP