「สร้างผลลัพธ์ไปสู่ระดับการปฏิวัติอุตสาหกรรม」
《โปรไฟล์》
ผู้บริหาร
Morita Kesuge
■เกิดเมื่อปี 1988 ที่จ.โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น หลังจากจบการศึกษาจากคณะบริหารจัดการเชิงนโยบาย จากมหาวิทยาลัยเคโอ ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็ได้เข้าทำงานในบริษัท Spiber เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2012 ในตำแหน่งเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการพัฒนางานวิจัย หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน ปี 2019 ก็ได้เข้ามาบริหารสาขาในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
■คติประจำใจ:จงสร้างตัวเองให้เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์
■บุคคลต้นแบบ:ฮาชิโมโตะ โทรุ
■หนังสือที่ชอบ:Oi! Ryoma
■กิจกรรมในเวลาว่าง:ดูแลลูกๆอายุ1และ2ขวบ
■ร้านที่ชอบไปในกรุงเทพฯ:ร้านเพื่อนแก้ว
■เว็ปไซต์ที่เข้าชมบ่อยๆ:sabaijaicons.com
“Spiber” ธุรกิจสตาร์ทอัพจากมหาวิทยาลัยเคโอของญี่ปุ่นที่ริเริ่มการผลิตเส้นใยไฟเบอร์จากโปรตีน ถือเป็นธุรกิจแบบที่ประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า“ยูนิคอร์น” คือบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงแตะ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 10 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง เรียกได้ว่าเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่เป็นที่น่าจับตามองอยู่ในขณะนี้ และเมื่อปีที่ผ่านมาก็ได้เริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และในครั้งนี้เราจะมาสัมภาษณ์คุณโมริตะ เคสุเกะ ผู้บริหารประจำสาขาในประเทศไทยถึงจุดมุ่งหมาย รวมถึงแผนการในอนาคตของบริษัท
นักเขียน : ยามากุจิ
เรียกได้ว่าเป็นบริษัทผลิต “เส้นใยไฟเบอร์แห่งความฝัน”
เวลาเจอใครเรามักถูกถามอยู่บ่อยครั้งว่า “เป็นบริษัทผลิตใยแมงมุมใช่ไหม?” ใยแมงมุมนั้นถือว่าเป็นใยธรรมชาติที่มีคุณภาพดีมาก เพราะมีความแข็งแรง มีความยืดหยุ่นสูง และมีคุณสมบัติรองรับแรงกระแทกได้ดี จริงๆแล้วบริษัทของเราไม่ได้ใช้ใยแมงมุมมาผลิตจริงๆ แต่เราเป็น”บริษัทผลิตเส้นใยโปรตีนไฟเบอร์โดยอาศัยความรู้ต่าง ของมนุษย์” และเราก็ถือว่าใยแมงมุมนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของเส้นใยโปรตีนไฟเบอร์ด้วย
เส้นใยที่เราเห็นทั่วๆไปอย่างใยไหม แคชเมียร์ วูล หรือเส้นผมนั้นก็เป็นเส้นใยโปรตีน แต่ถ้าเทียบกับของเราแล้วถือว่าต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยพื้นฐานแล้วโปรตีนนั้นเกิดจากการรวมตัวกันของกรดอะมิโน 20 ชนิด และการเรียงตัวของกรดอะมิโนนั้นก็จะทำให้เกิดโครงสร้างที่แตกต่างกันไป กลายเป็นเส้นใยหลากหลายชนิด ถ้าจะให้เห็นภาพก็คือเส้นใยแต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างทั้งสัมผัส การกักเก็บอุณหภูมิ ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น คุณสมบัติรองรับแรงกระแทก เป็นต้น
แต่ถ้าหากเราดีไซน์การเรียงตัวของกรดอะมิโนด้วยตัวเอง เราก็จะสามารถผลิตเส้นใยโปรตีนไฟเบอร์ที่มีคุณสมบัติสำคัญซึ่งสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายได้ ผมคิดว่าถ้าหากเราสามารถสร้างวัสดุในแบบที่เราต้องการได้ในจำนวนมากๆ เราก็น่าจะสามารถพัฒนาไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้อย่างแน่นอน
เป้าหมายก็คือต้องการเพิ่มศักยภาพของเส้นใยไฟเบอร์สินะครับ
การผลิตโปรตีนในจำนวนมากๆ นั้นถือเป็นกระบวนการที่ยาก เพราะการจะคัดเลือกใยแมงมุมที่เราเลี้ยงไว้เอาแต่ชิ้นที่ดีออกมาให้ได้นั้นยากมาก
ด้วยเหตุนั้นในปี 2013 เราจึงคิดค้นเทคนิคที่เราออกแบบขึ้นมาเองเพื่อผลิตโปรตีนเทียมให้ได้ครั้งละมากๆ ถ้าจะให้อธิบายอย่างง่ายๆ ก็คือ เริ่มแรกเราออกแบบสายของกรดอะมิโนเพื่อให้ได้โครงร่างของหน่วยพันธุกรรม หลังจากนั้นก็นำหน่วยพันธุกรรมใส่เข้าไปในเชื้อจุลินทรีย์นั้นโดยวิธีการหมัก เสร็จแล้วก็จะได้เป็นโปรตีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเส้นใยไฟเบอร์ซึ่งมาจากเชื้อจุลินทรีย์ หลังจากได้โปรตีนออกมาแล้วเราก็จะทำการแปรรูปเป็นรูปแบบต่างๆ ตามการใช้งาน อย่างเช่น เส้นใยไฟเบอร์ แผ่นฟิล์ม ฟองน้ำ หรือเรซิ่น เป็นต้น ในตอนนี้เราก็พยายามคิดค้นหาวิธีใหม่ๆ ที่จะสามารถต่อยอดให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
สำหรับก้าวต่อไปในประเทศไทยก็คือการเริ่มการผลิตให้ได้จำนวนมาก
ใช่ครับ ตอนนี้เพื่อที่จะสามารถสร้างโรงงานในจังหวัดระยองสำหรับผลิตโปรตีนในจำนวนมากได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วเราจึงแต่งตั้งนิติบุคคลขึ้นที่นั่น ปัจจุบันเรามีโรงงานต้นแบบอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในเมืองสึรุโอกะ จังหวัดยามากาตะในประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับโรงงานที่จะตั้งขึ้นในจังหวัดระยองนั้นเราคาดว่าจะมีกำลังการผลิตมากกว่าที่สำนักงานใหญ่ถึง 100 เท่า หรือประมาณ 100 ตันต่อปี ถ้าเป็นแบบนั้นการพัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ก็จะยิ่งเร็วขึ้นไปอีก
ในตอนนี้เรากำลังเตรียมการอย่างเต็มที่สำหรับโรงงานที่ระยอง ทั้งการจ้างแรงงาน การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ รวมถึงการทดสอบเดินเครื่องจักรที่จะใช้ที่นั่นด้วย ในช่วงครึ่งปีนี้เราได้เริ่มก่อสร้างโรงงาน และคาดว่าจะเริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2021
เหตุผลที่เลือกประเทศไทย
การผลิตโปรตีนนั้น น้ำตาลซึ่งเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ถือเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับประเทศไทยนั้นอ้อยหรือเม็ดไข่มุกในชานมเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะสมในการผลิตมาก
นอกจากสภาพแวดล้อมในการผลิตจะดีแล้ว ประเทศไทยยังถือเป็นตลาดของผู้บริโภคที่สำคัญอีกด้วย เพราะจริงๆ แล้วเส้นใยไฟเบอร์ของเรานั้นสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์แห่งอนาคตอย่างรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริด ในปัจจุบันมีเคสที่ใช้เส้นใยไฟเบอร์ไปผสมกับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มเส้นใยโปรตีนไฟเบอร์นั้นจะทำให้ประสิทธิภาพการรับแรงกระแทกนั้นเพิ่มขึ้นด้วย
อีกทั้งโปรตีนไฟเบอร์ยังเข้ากันได้ดีกับโพลียูรีเทนอีกด้วย ต่อจากนี้ก็อาจจะทำให้สามารถผลิตที่นั่งในรถยนต์ที่มีความบางมากขึ้นไปอีก จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งรวมโรงงานผลิตรถยนต์เอาไว้นั้น เส้นใยโปรตีนไฟเบอร์ถือว่ายังเก็บซ่อนศักยภาพเอาไว้อีกมากมายที่รอเราเข้าไปค้นคว้าต่อไป แต่ในขณะเดียวกันผมก็มองว่าการจะเข้าไปในอุตสาหกรรมรถยนต์คงจะต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร ดังนั้นในตอนนี้เราจึงเริ่มจากการเข้าไปมีส่วนในการช่วยพัฒนาสินค้าต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ในญี่ปุ่นเราเริ่มวางขายเสื้อทีเชิร์ตกับบริษัท Goldwin ผู้พัฒนาแบรนด์ “The North Face” และในภายในปีนี้ก็วางแผนจะวางขายเสื้อแจ็คเก็ตด้วย
โปรตีนนั้นสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าในตอนนี้ ASEAN กำลังประสบปัญหาขยะพลาสติกล้นทะเล แต่ในอนาคตการคิดค้นของเราจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในด้านนี้ได้
ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการจ้างแรงงานในประเทศไทย และพัฒนาการผลิตให้มีมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยเฉพาะในตอนนี้เรากำลังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรระดับสูงด้านเคมีและวิศวกรรม จึงคิดว่าจะต้องให้ความสำคัญในด้านนี้ต่อไป
แผนภาพโรงงานที่เสร็จสมบูรณ์ในจังหวัดระยอง (ที่มา Spiber Inc.)